Translate

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

สรรพคุณของพริกขี้หนู และประโยชน์ของพริกขี้หนูที่คุณควรรู้ มีอะไรบ้าง

http://menufood-review.blogspot.com/

 

สรรพคุณของพริกขี้หนู และประโยชน์ของพริกขี้หนูที่คุณควรรู้ มีอะไรบ้าง

  1. ผลมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร และช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ผล) ส่วนยอดพริกและใบอ่อนพริกมีรสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร เพิ่มน้ำลาย และช่วยขับลม (ใบ)
  2. ต้นนำมาสุมให้เป็นถ่านใช้ชงกับน้ำเป็นยาแก้กระษัย (ต้น)
  3. ผลใช้เป็นยาแก้ตานซางซึ่งเป็นโรคที่มักพบได้ในเด็ก โดยมีอาการซูบซีด พุงโร ก้นปอด สันนิษฐานว่าเกิดจากโรคพยาธิในลำไส้ (ผล)
  4. ผลสุกนำมาปรุงเป็นอาหาร จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากมีสาร capsaicin (ผล)
  5. ช่วย เร่งการสันดาปและเร่งเมตาบอลิซึม ช่วยใช้แคลอรี่ให้หมดไป จึงทำให้น้ำหนักลด และช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และไขมันเลว (LDL) ในสัตว์ทดลองได้ เนื่องจากสาร Capsaicin จะช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างไขมันเลว (LDL) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างไขมันดี (HDL) ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ (ผล)
  6. พริกสามารถช่วยลดความโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ด้วยดี (ผล)
  7. รากพริกขี้หนูมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิต (ราก)
  8. พริกมีสรรพคุณช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยสลายลิ่มเลือด (ผล)
  9. การ รับประทานพริกเป็นประจำจะช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวหรือจากการเสียชีวิตจากหลอด เลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน เพราะช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดความดัน เนื่องจากสารจำพวกเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีจะช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือด ให้แข็งแรง เพิ่มการยืดหดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับเข้ากับแรงดันในระดับต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น (ผล)
  10. ช่วย ทำให้อารมณ์แจ่มใส โดยสาร Capsaicin ที่มีอยู่ในพริกขี้หนูจะช่วยส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร Endorphin ซึ่งออกฤทธิ์คล้ายกับมอร์ฟีน คือ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และทำให้อารมณ์แจ่มใส (ผล)
  11. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะเนื่องมาจากไข้หวัดหรือตัวร้อน ด้วยการใช้ใบพริกขี้หนูสด ๆ นำมาตำผสมกับดินสอพอง แล้วนำมาใช้ปิดบริเวณขมับ (ใบ)
  12. ตำรายาไทยจะใช้ผลซึ่งมีรสเผ็ดร้อนเป็นยาแก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ ทำให้การหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น (ผล) ส่วนใบมีสรรพคุณช่วยแก้หวัด (ใบ)
  13. ช่วย สลายเมือกในปอด ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ช่วยป้องกันหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง สาร Capsaicin ที่มีอยู่ในพริกขี้หนูจะช่วยลดน้ำมูกหรือสิ่งกีดขวางต่อระบบการหายใจอัน เนื่องมาจากเป็นไข้หวัด ภูมิแพ้ หรือไซนัส (ผล)
  14. ช่วยรักษาอาการอาเจียน (ผล)
  15. ใช้ แก้อาการเจ็บคอ เสียงแหบ ด้วยการใช้น้ำต้มหรือยาชงพริกขี้หนู ที่เตรียมโดยการใช้พริกขี้หนูป่น 1 หยิบมือ เติมน้ำเดือดลง 1 แก้ว ทิ้งไว้ให้พออุ่น แล้วนำมาใช้กลั้วคอ (ผล)
  16. รากใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือ ใช้เป็นยากวาดคอ (ราก)
  17. ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยและช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น (ผล)
  18. ช่วยรักษาโรคบิด (ผล)
  19. ต้นนำมาสุมให้เป็นถ่านใช้แช่กับน้ำเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
  20. ใช้ ขับน้ำคาวปลาของสตรี ด้วยการใช้ผงพริกขี้หนู 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยชา ใช้กินครั้งละ 1/2-1 ถ้วยชา โดยให้กินครั้งเดียว ส่วนครั้งต่อไปให้ใช้เหล้าแทนน้ำส้มสายชู ใช้กินวันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยขับน้ำคาวปลาให้ตกได้ แต่ถ้าน้ำคาวปลาไม่ตกในสตรีคลอดบุตร จะทำให้มีอาการหน้ามืด จุกแน่นในท้องในอก รู้สึกอึดอัด กัดกรามแน่น ใจคอหงุดหงิด หนาวสั่น หูดับ เป็นลมหลับไป หากแก้ไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ สำหรับผงถ่านนั้นได้จากการนำพริกขี้หนูแห้ง 1 กำมือ ใส่ลงในกระทะตั้งไฟจนควันขึ้น จุดไม้ขีดแหย่ลงไป แล้วพริกขี้หนูจะติดไฟ ทิ้งไว้สักพักพริกขี้หนูจะไหม้ดำเป็นถ่านหมด แล้วจึงตักออกมาจากกระทะใส่จาน หากะลาหรือถ้วยมาครอบพริกเผาเอาไว้จนไฟดับหมด เสร็จแล้วให้นำมาบดให้ละเอียด ก็จะได้ผงถ่านพริกขี้หนูตามต้องการ (ห้ามกินยานี้ก่อนการคลอดบุตร เพราะทำให้คลอดลูกไม่ออก และอาจทำให้ถึงตายได้) (ผล)
  21. ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการคัน (ใบ)
  22. ช่วยป้องกันการเป็นผื่นแดงเนื่องจากแพ้อากาศเย็น (ผล)
  23. ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ด้วยการใช้ใบพริกขี้หนู นำมาตำพอกรักษาแผลสดและแผลเปื่อย แต่อย่าใช้ปิดแผลมากจนเกินไป เพราะทำให้ร้อน (ใบ)
  24. ผลมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคหิด กลากเกลื้อน (ผล)
  25. พริกขี้หนูมีสารต้านแบคทีเรียและอนุมูลอิสระ (ผล)
  26. หากมดคันไฟกัน ให้ใช้ใบหรือดอกพริกขี้หนู นำมาถูบริเวณที่ถูกกัด (ใบ,ดอก)
  27. ใช้ เป็นยาแก้พิษตะขาบและแมงป่องกัด ด้วยการใช้ผลพริกขี้หนูแห้ง นำมาตำให้เป็นผงละลายกับน้ำมะนาว ใช้ทาบริเวณที่กัด อาการเจ็บปวดจะหายไป (ผล)
  28. ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ด้วยการใช้พริกหนูแก่สีแดงตากแห้ง แล้วนำมาบดให้เป็นผงละเอียด เทลงในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลียว กวนให้เข้ากัน แล้วนำไปเคี่ยวอีกจนได้กลิ่นพริก ใช้เป็นยาทาถูเพื่อรักษาอาการเคล็ด ฟกช้ำดำเขียว และอาการปวดตามข้อ โดยให้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 1-2 ครั้ง (ผล) ส่วนการนำมาใช้เป็นยาแก้บวมอีกวิธี จากข้อมูลระบุให้ใช้ใบพริกขี้หนูนำมาบดผสมกับน้ำมะนาว ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่มีอาการบวม (ใบ)
  29. ใช้ รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง ด้วยการใช้ผงพริกหนูและวาสลิน หรือผงพริก วาสลิน และแป้งหมี่ เติมเหล้าเหลืองพอประมาณ แล้วคนให้เข้ากันจนเป็นครีม ก่อนนำมาใช้ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด แล้วใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบ หลังจากนั้นจะมีอาการทำให้เหงื่ออก ทำให้การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น และจะรู้สึกหายปวด เนื่องจากบริเวณที่พอกยาจะมีความรู้สึกร้อน การไหลเวียนของโลหิตเพิ่มขึ้น (ผล)
  30. ใช้แก้อาการปวด เมื่อยตามตัว ขับลมชื้นตามร่างกาย ด้วยนำผลพริกขี้หนูแห้งมาแช่ในแอลกอฮอล์ 90% ในปริมาณ 1,000 ซีซี นาน 2 สัปดาห์ แล้วใช้สำลีชุบน้ำยาทาบริเวณที่เป็น (ผล)
  31. ใช้เป็นยาช่วยลดอาการปวดบวมอันเนื่องจากลมชื้น หรือจากความเย็นจัด ด้วยการใช้ผงพริกขี้หนูแห้งนำมาทำเป็นขี้ผึ้งหรือสารละลายแอลกอฮอล์ แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการปวด (ผล)
  32. ผลมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดเพื่อช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ ลดอาการปวดบวม (ผล)
  33. ส่วนต้นหรือรากพริกขี้หนูมีสรรพคุณเป็นยาแก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ปวดบวม (ต้น,ราก)
  34. สารสกัด จากพริกใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาอาการตะคริวได้ เพราะพริกจะช่วยทำให้บริเวณผิวที่ทามีเลือดมากเลี้ยงมากขึ้น และกระตุ้นทำให้บริเวณที่ทารู้สึกร้อน (ผล)
  35. ใช้แก้เท้าแตก ด้วยการใช้พริกขี้หนูทั้งต้นและปูนขาว อย่างละพอสมควร เอาไปต้ม แล้วเอาน้ำที่ได้มาแช่เท้าที่แตก ถ้าไม่หายก็ให้เอาต้นสลัดไดและรากหนอนตายหยากใส่ลงไปด้วย (ทั้งต้น)
  36. แก้ปลาดุกยัก ด้วยการใช้พริกขี้หนูสด ขยี้ตรงที่ปลาดุกแทงจะหายปวด เมื่อขยี้แล้วจะรู้สึกเย็น ไม่บวมและไม่ฟกช้ำด้วย (ผล)
  37. ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก (ผล)
หมายเหตุ : ในพืชวงศ์เดียวกันยังมีพริกอีกหลายชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามรูปร่างลักษณะและขนาดเล็กน้อย เช่น พริกชี้ฟ้า แต่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้

http://ho.lazada.co.th/SHDKGD

ประโยชน์ของพริกขี้หนู

  1. พริก เป็นพืชผักสวนครัวที่คนไทยจะขาดกันเสียมิได้ เพราะนิยมนำมาใช้ในการปรุงรสชาติอาหาร โดยผลแรกผลิสามารถนำใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่นำมาใช้ใส่แกงคั่วส้ม ก็จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ (เนื่องจากมีวิตามินซี) มีรสเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อน หรือนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ช่วยชูรส ใช้ใส่ในน้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดอง และใช้เป็นส่วนผสมในอาหารอีกเมนู
  2. ยอด และใบอ่อน มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เนื่องจากมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินบีอยู่มาก จึงช่วยในการบำรุงประสาทและบำรุงกระดูก[6] อีกทั้งยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงเลียง แกงอ่อม ทอดกับไข่ ส่วนเมล็ดอ่อนหรือแก่นำไปปรุงรสเผ็ดในอาหาร เช่น ต้ม ลาบ น้ำพริก เป็นต้น
  3. นอกจากเราจะใช้พริกขี้หนูในการประกอบอาหาร ต่าง ๆ แล้ว ยังประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา โดยคุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 76 กิโลแคลอรี่, น้ำ 82 กรัม, โปรตีน 3.4 กรัม, ไขมัน 1.4 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม, ใยอาหาร 5.2 กรัม, วิตามินเอ 2,417 หน่วยสากล, วิตามินบี1 0.29 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม, วิตามินซี 44 มิลลิกรัม, แคลเซียม 4 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม (ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย)
  4. การรับประทานพริกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดลมอักเสบได้
  5. การ รับประทานพริกเป็นประจำยังช่วยจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้ เนื่องจากเป็นพืชที่มีวิตามินซีสูง การได้รับวิตามินซีมาก ๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ เนื่องจากวิตามินซีจะไปช่วยยับยั้งการสร้างสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อ มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเซลล์ ร้ายได้ นอกจากนี้วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ ของเซลล์ และสารเบต้าแคโรทีนในพริกขี้หนูยังช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด และมะเร็งในช่องปาก ช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์ และช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง
  6. มนุษย์มีการใช้พริก เพื่อบรรเทาอาการปวดมานานแล้ว ในปัจจุบันจึงได้มีการนำพริกขี้หนูมาใช้เป็นส่วนผสมในยาขี้ผึ้งถาถูนวด เพื่อใช้แก้อาการปวดเมื่อยบวม บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคัน ผื่นแดง อาการปวดที่เกิดจากเส้น ปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด โรคเก๊าท์ และช่วยลดอาการอักเสบ โดยสารที่ออกฤทธิ์คือสาร “แคปไซซิน” (Capsaicin) และยังนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาธาตุ ยาแก้ปวดท้อง เพราะสารสกัดจากพริกจะช่วยกระตุ้นการหลั่งเอนไซม์บางชนิดที่ทำให้กระเพาะ อาหารเกิดการบีบตัวและคลายตัว ช่วยในการย่อย แก้กระเพาะเย็น ทำให้อบอุ่น

http://ho.lazada.co.th/SHDKH7

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • การ รับประทานพริกมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้หน้าเป็นสิวได้ และถ้าถูกพริกหรือจับพริกก็จะทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้
  • หาก เผลอรับประทานพริกหรือเด็กรับประทานพริกที่เผ็ดมากอย่างพริกขี้หนูเข้าไป ก็ให้ดื่มนมตาม เพราะในน้ำนมจะมีสาร Casein ที่ช่วยทำลายความเผ็ดลงได้
  • ผู้ที่มีอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และผู้ที่เป็นวัณโรคหรือริดสีดวงทวาร ไม่ควรรับประทานพริกขี้หนู
หมายเหตุ : พริกขี้หนูสวน จะมีขนาดเล็กกว่า พริกขี้หนูธรรมดา มีความเผ็ดและความหอมมากกว่าพริกขี้หนูธรรมดา นิยมนำมาทำน้ำพริกกะปิ หรือน้ำพริกต่าง ๆ กินกับผักรวก หรือผักสด ฯลฯ


กลับเมนูหลัก

เพจแนะนำ : https://www.facebook.com/likecookings/
เว็ปแนะนำ : http://food-houses.blogspot.com/
เมนูอาหาร : http://menufood-review.blogspot.com/
สินค้าลดราคา : http://stock-salea.blogspot.com/
เพจแนะนำอาหารเสริม : goo.gl/wTh28t
เพจแนะนำบ้านมือสอง : goo.gl/imZryr
บ้านมือสอง : goo.gl/zndSbb
รวมแหล่งทำ : https://www.facebook.com/groups/924932757548963/
แหล่งท่อง : https://www.facebook.com/groups/1444407162531144/
รูปสวยสวย : https://www.facebook.com/groups/450271111811083/
อยากขาย อยากแชร์ ทุกเรื่องฟรี : https://www.facebook.com/groups/504460883042438/


http://ho.lazada.co.th/SHDK2d 

ไม่มีความคิดเห็น:

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน